เมนู

อรรถกถามตโรทนชาดกที่ 7


พระศาสดาเมื่อประโยคทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กฏุมพีในนครสาวัตถีคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า มตมตเมว โรทถ ดังนี้.
ได้ยินว่า พี่ชายของกฎุมพีนั้น ได้ทำกาลกิริยาตายไป เขาถูก
ความโศกครอบงำ เพราะกาลกิริยาของกฎุมพีนั้น ไม่อาบน้ำ ไม่
บริโภคอาหาร ไม่ลูบไล้ ไปป่าช้าแต่เช้าตรู่ ถึงความเศร้าโศกร้องไห้
อยู่. พระศาสดาทรงตรวจดูโลกในเวลาปัจจุสมัย ทรงเห็นอุปนิสัย
แห่งโสดาปัตติผลของพี่ชายแห่งกฎุมพีนั้น จึงทรงพระดำริว่า เราควร
นำอดีตเหตุมาระงับความเศร้าโศก แล้วให้โสดาปัตติผลแก่พี่ชาย
กฎุมพีนี้ เว้นเราเสียใคร ๆ อื่นผู้สามารถ ย่อมไม่มี เราเป็นที่พึ่งอาศัย
ของพี่ชายแห่งกฏุมพีนี้ จึงจะควร. ในวันรุ่งขึ้นเสด็จกลับจากบิณบาต
ภายหลังภัตแล้ว ทรงพาปัจฉาสมณะไปยังประตูเรือนของพี่ชายกฎุมพี
นั้น ผู้อันกฎุมพีพี่ชายได้ฟังว่า พระศาสดาเสด็จมา จึงกล่าวว่า ท่าน
ทั้งหลายจงปูลาดอาสนะแล้วนิมนต์ให้เสด็จเข้ามา พระองค์จึงเสด็จไป
แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้. ฝ่ายกฎุมพีก็มาถวายบังคม
พระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระศาสดาจึง
ตรัสกะกุฎุมพีนั้นว่า ดูก่อนกฎุมพี ท่านคิดเสียใจอะไรหรือ. กฎุมพี
กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดเสียใจ
ตั้งแต่เวลาที่พี่ชายของข้าพระองค์ตายไป. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

ผู้มีอายุ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งที่ควรจะแตกทำลาย ก็แตกทำ
ลายไป ไม่ควรคิดเสียใจในเรื่องนั้น แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อ
พี่ชายตายไป ก็ไม่ได้คิดเสียใจว่า. สิ่งที่ควรจะแตกทำลาย ได้แตก
ทำลายไปแล้ว อันกฏุมพีนั้น ทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องใน
อดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสีพระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติ 80 โกฏิ.
เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาก็ได้ทำกาลกิริยาตายไป.
เมื่อมารดาบิดานั้นทำกาลกิริยาตายไปแล้ว พี่ชายของพระโพธิสัตว์จึง
จัดแจงทรัพย์สมบัติแทน. พระโพธิสัตว์อาศัยพี่ชายนั้นเป็นอยู่ ใน
กาลต่อมา พี่ชายนั้นได้ทำกาลกิริยาตายไปด้วยความป่วยไข้เห็นปาน
นั้น. ญาติมิตร และอำมาตย์ทั้งหลายพากันประคองแขนคร่ำครวญ
ร้องไห้ แม้คนเดียวก็ไม่อาจดำรงอยู่โดยภาวะของตนได้ ส่วนพระ-
โพธิสัตว์ไม่คร่ำครวญ ไม่ร้องไห้ คนทั้งหลายพากันติเตียนพระโพธิ-
สัตว์ว่า ดูเอาเถิดท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อพี่ชายของผู้นี้ตายไปแล้ว
อาการแม้สักว่าหน้าสยิ้วก็ไม่มี เขามีใจแข็งกระด้างมาก เห็นจะอยาก
ให้พี่ชายตายด้วยคิดว่า เราเท่านั้นจักได้ใช้สอยทรัพย์สมบัติ ทั้ง
สองส่วน. ฝ่ายญาติทั้งหลายก็ติเตียนพระโพธิสัตว์นั้นเหมือนว่า เมื่อ
พี่ชายตายเจ้าไม่ร้องไห้. พระโพธิสัตว์นั้นได้ฟังคำของญาติเหล่านั้น
จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายไม่รู้จักโลกธรรม 8 ประการ เพราะความ

ที่ตนเป็นคนบอดเขลา จึงพากันร้องไห้ว่า พี่ชายของเราตาย แม้เรา
เองก็จักตาย เพราะเหตุไรท่านทั้งหลายจึงไม่ร้องไห้ถึงเราบ้างว่า ผู้นี้
ก็จักตาย แม้ท่านทั้งหลายก็จักตาย เพราะเหตุไรจึงไม่ร้องให้ถึงตน
เองบ้างว่า แม้เราทั้งหลายก็จักตาย ๆ สังขารทั้งปวงย่อมเป็นของไม่
เที่ยง แม้สังขารอย่างหนึ่งซึ่งสามารถดำรงอยู่ตามสภาวะนั้นนั่นแหละ
ย่อมไม่มี ท่านทั้งหลายเป็นผู้บอดเขลา ไม่รู้จักโลกธรรม 8 ประการ
จึงพากันร้องไห้ เพราะความไม่รู้ เราจักร้องไห้เพื่ออะไรกัน แล้ว
กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
ท่านทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงแต่คนที่คาย
แล้ว ๆ ทำไมจึงไม่ร้องไห้ถึงคนที่จักตายบ้าง
เล่า สัตว์ทุกจำพวกผู้ครองสรีระไว้ ย่อมละทิ้ง
ชีวิตไปโดยลำดับ.
เทวดา มนุษย์ สัตว์จตุบาท หมู่ปักษี-
ชาติ และพวกงู ไม่มีอิสระในสรีระร่างกายนี้
ถึงจะอภิรมย์อยู่ในร่างกายนั้น ก็ต้องละทิ้ง
ชีวิตไปทั้งนั้น.
สุขทุกข์ที่เพ่งเล็งกันอยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นของผันแปรไม่มั่นคงอยู่อย่างนี้ ความ
คร่ำครวญ ความร่ำไห้ ไม่เป็นประโยชน์เลย
เพราะเหตุไร กองโศกจึงท่วมทับท่านได้.

พวกนักเลง และพวกคอเหล้า ผู้ไม่
ทำความเจริญ เป็นพาล ห้าวหาญ ไม่มีความ
ขยันหมั่นเพียร ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญ
นักปราชญ์ว่าเป็นคนพาล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตมตเมว แปลว่า ตายไปแล้ว ๆ
เท่านั้น. บทว่า อนุปุพฺเพน ความว่า เมื่อประจวบคราวตายของตน ๆ
สัตว์ทั้งหลายย่อมละชีวิตไปโดยลำดับ ๆ คือสัตว์ทั้งปวงไม่ใช่พากันตาย
พร้อมกัน ถ้าจะตายพร้อมกันอย่างนั้น ความเป็นไปของโลกก็จะขาด
ศูนย์ไป. บทว่า โภคิโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยขนาดร่ายกายใหญ่
โต. บทว่า รมมานา ความว่า สัตว์ทั้งหลายมีเทวดาเป็นต้นเหล่านี้
แม้ทั้งหมดผู้บังเกิดในภพนั้นๆ ถึงจะชื่นชมคือไม่เดือดร้อนรำคาญใน
ที่เกิดของตน ๆ ก็ย่อมละทิ้งชีวิตไป. บทว่า เอวํ จลิตํ ความว่า
สุขทุกข์ชื่อว่ายักย้ายไปไม่ดำรงอยู่ เพราะไม่มีความหยุดนิ่ง และความ
ตั้งมั่นอยู่ในภพทั้ง 3 อย่างนั้น. บทว่า กึ โว โสกคุณาภิกีรเร
เพราะเหตุไร กองแห่งความโศกจึงครอบงำ คือท่วมทับท่านทั้งหลาย.
บทว่า ธุตฺตา โสณฺฑา จ อกตา ความว่า นักเลงหญิง นักเลงสุรา
นักเลงการพนัน นักดื่ม นักกินเป็นต้น เป็นผู้ไม่ทำความเจริญ
ทั้งขาดการศึกษา. บทว่า พาลา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเขลา
คือ ผู้ไม่รู้. บทว่า สูรา อโยคิโน ความว่า ชื่อว่าผู้ห้าวหาญ เพราะ
ไม่ใส่ใจโดยแยบคาย ชื่อว่าผู้ไม่มีความเพียร เพราะความเป็นผู้ไม่

ประกอบความเพียร. บาลีว่า อโยธิโน ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ผู้ไม่
สามารถรบกับกิเลสมาร. บทว่า ธีรํ มญฺญนฺติ พาโลติ เย
ธมฺมสฺส อโกวิทา
ความว่า พวกนักเลงเป็นต้นเห็นปานนั้นเป็นผู้
ไม่รู้โลกธรรม 8 ประการ เมื่อทุกขธรรมแม้มีประมาณน้อยเกิดขึ้น
แล้ว ก็เสียใจคร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะไม่รู้โลกธรรม 8 โดยถ่องแท้
จึงสำคัญนักปราชญ์ คือบัณฑิตผู้เช่นกับเราผู้ไม่คร่ำครวญไม่ร้องไห้
ในการตายของญาติเป็นต้นว่า ผู้นี้เป็นพาลไม่ร้องไห้.
พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงธรรมแก่ญาติเหล่านั้น ด้วยประการ
อย่างนี้แล้ว ได้กระทำญาติแม้ทั้งหมดนั้นให้หายโศกแล้ว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะ กฎุมพีดำรงอยู่
แล้วในโสดาปัตติผล. บัณฑิตผู้แสดงธรรมแก่มหาชนแล้วกระทำให้
หายโศกเศร้าในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามตโรทนชาดกที่ 7

8. กณเวรชาดก


ว่าด้วยหญิงหลายผัว


[570] ท่านกอดรัดนางสามาด้วยแขน ในสมัย
ที่อยู่ในกอชบามีสีแดง เธอได้สั่งความไม่มี
โรคมาถึงท่าน.
[571] ดูก่อนท่านผู้เจริญ ข่าวที่ว่า ลมพึงพัด
ภูเขาไปได้ ใคร ๆ คงไม่เชื่อถือ ถ้าลมจะ
พึงพัดเอาภูเขาไปได้ แม้แผ่นดินทั้งหมดก็พัด
เอาไปได้ เพราะเหตุไร นางสามาตายแล้วจึง
สั่งความไม่มีโรคมาถึงเราได้.
[572] นางสามานั้นยังไม่ตาย และไม่ปรารถนา
ชายอื่น ได้ยินว่า นางจะมีผัวเดียว ยังหวัง
เฉพาะท่านอยู่เท่านั้น.
[573] นางสามาได้เปลี่ยนเราผู้ไม่เคยสนิทสนม
กับสามีที่เคยสนิทสนมมานาน เปลี่ยนเราผู้
ยังไม่ทันได้ร่วมรัก กับสามีผู้เคยร่วมรักมา
แล้ว นางสามาพึงเปลี่ยนผู้อื่นกับเราอีก เรา
จักหนีจากที่นี้ไปเสียให้ไกล.

จบ กณเวรชาดกที่ 8